BUS
ระบบบัสเพิ่มขยายนั้น
จะช่วยให้เราสามารถปรับแต่ง
หรือ เพิ่มขยาย
ความสามารถของระบบ โดยผ่านทาง Plug-in
Board หรือ เรียกว่าเป็น Card เพิ่มขยาย
Expansion Card เช่นเมื่อต้องการให้ Computer
มีเสียง อยากให้ Computer เล่นเพลงได้
ก็ต้องหาซื้อ Soundcard และ
ลำโพงมาต่อเพิ่ม โดยแค่นำมา Plug
ลงใน Expansion Slot บน Mainboard และ ทำการ Config
ก็จะสามารถใช้งานได้
โดยไม่จำเป็นต้องมาเดินสายไฟ
รื้อ Mainboard ใหม่ให้ยุ่งยาก
เมื่อ IBM ได้ทำการเปิดตัว IBM PC ( XT ) ตัวแรก ซึ่งใช้ CPU 8088 เป็น CPU ขนาด 8 Bit ดังนั้น เครื่อง Computer เครื่องนี้ จึงมีเส้นทางข้อมูลเพียง 8 เส้นทาง ( 8 data line ) และ เส้นทางที่อยู่ 20 เส้นทาง ( 20 address line ) เพื่อใช้ในการอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำ Card ที่นำมาต่อกับ PC Bus นั้น จะเป็น Card แบบ 62 pin ซึ่ง 8 pin ใช้สำหรับส่งข้อมูล อีก 20 pin ไว้สำหรับอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำ ซึ่ง CPU 8088 นั้น สามารถอ้างอิงหน่วยความจำได้เพียง 1 Megabyte ซึ่ง ในแต่ละ pin นั้น สามารถส่งข้อมูลได้เพียง 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ( หรือ Low กับ High ) ดังนั้น เมื่อใช้ 20 pin ก็จะอ้างอิงตำแหน่งได้ที่ 2 คูณกัน 20 ครั้ง ( หรือ 2 ยกกำลัง 20 ) ซึ่งก็จะได้เท่ากับ 1 Meg. พอดี ส่วน pin ที่เหลือ ก็ใช้เป็นตัวกำหนดการอ่านค่า ว่าอ่านจากตำแหน่งของหน่วยความจำ หรือ ตำแหน่งของ Input/Output หรือ บาง pin ก็ใช้สำหรับจ่ายไฟ +5, -5, +12 และ สาย Ground ( สายดิน ) เพื่อจ่ายไฟให้กับ Card ที่ต่อพ่วงบน Slot ของ PC Bus นั่นเอง และ ยังมี pin บางตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัว reset หรือ เป็นตัว refresh หรือแม้กระทั่ง clock หรือ สัญญาณนาฬิกาของระบบนั่นเอง ระบบ Bus แบบ PC Bus นี้ มีความกว้างของ Bus เป็น 4.77 MHz และ สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 2.38 MB ต่อ วินาที
ในยุคของ PC AT หรือ ตั้งแต่ CPU รุ่น 80286
เป็นต้นมา
ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ
เส้นทางข้อมูลจาก 8 Bit ไปเป็น 16 Bit
ทำให้ IBM ต้องมาทำการออกแบบระบบ Bus
ใหม่
เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลทีละ
16 Bit ได้ แน่นอนว่า
การออกแบบใหม่นั้น
ก็ต้องทำให้เกิดความเข้ากัน
ได้ย้อนหลังด้วย ( Compatble ) กล่าวคือ
ต้องสามารถใช้งานกับ PC Bus ได้ด้วย
เพราะ ถ้าหากไม่เช่นนั้นแล้ว
ก็คงจะขายออกยาก ลองคิดดูว่า
ถ้าหากออก PC AT ที่ใช้
ระบบบัสใหม่ทั้งหมด และ
ไม่เข้ากันกับ PC XT
ที่ออกมาก่อนหน้านั้นได้
เครื่อง PC AT นั้นๆ
อนาคตการตลาดก็คงรุ่งได้ยาก
แต่ปัญหานี้ IBM
แก้ไขได้ดีทีเดียว นั่นก็คือ
ได้ทำ Slot มาต่อเพิ่มจาก PC Bus เดิม อีก
36 Pin โดยที่เพิ่มเส้นทางข้อมูลอีก 8
Pin รวมแล้วก็จะเป็น 16 Pin
สำหรับส่งข้อมูลได้ทีละ 16 Bit พอดี
และ เพิ่ม 4 Pin
สำหรับทำหน้าที่อ้างตำแหน่งจากหน่วยความจำ
ซึ่งก็จะรวมเป็น 24 Pin และ
จะอ้างได้มากถึง 16 Meg. ( 2 ยกกำลัง 24 )
ซึ่ง
ก็เป็นขนาดของหน่วยความจำสูงสุดที่
CPU 80286 นั้น สามารถจะอ้างได้
แต่อย่างไรก็ตาม การอ้าง
ตำแหน่งของ I/O Port นั้น
ก็ยังคงถูกจำกัดไว้ที่ 1,024 อยู่ดี
เนื่องจาก
ปัญหาด้านความเข้ากันได้ กับ PC Bus
นอกจากนี้ Pin ที่เพิ่มเข้ามา
ยังช่วยเพิ่มการอ้างตำแหน่ง DMA
และ ค่าของ IRQ เพิ่มอีกด้วย Slot
แบบใหม่นี้ เรียกว่าเป็น Slot แบบ 16-Bit
ซึ่งต่อมาก็เรียกกันว่าเป็น AT Bus
แต่เราจะรู้จักกันในนามของ ISA Bus
มากกว่า โดยคำว่า ISA
มาจากคำเต็มว่า Industry Standard Architecture
เราสามารถนำ Card แบบ 8 Bit
มาเสียบลงบนช่อง 16 Bit ได้ เพราะ ใช้
สถาปัตยกรรมพื้นฐานเหมือนๆกัน
จะต่างกันก็ตรงส่วนที่เพิ่มมา
สำหรับ 16 Bit เท่านั้น ซึ่งจะใช้ (
ในกรณีที่ใช้ Card 16 Bit ) หรือ ไม่ใช้ (
ในกรณีใช้ Card 8 Bit ) ก็ได้ ระบบ Bus แบบ ISA
Bus นี้ มีความกว้างของ Bus เป็น 8 MHz และ
สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่
8 MB ต่อ วินาที
ISA Bus นั้น
เราทราบแล้วว่ามันทำงานที่ 8 MHz
ถ้านำมันมาใช้งานที่ 12 MHz
ก็ต้องมีปัญหาแน่ๆ และ นี่หล่ะ
เป็นปัญหาสำคัญ เพราะหากว่า CPU
ทำงานได้เร็วจริง
แต่ไม่สามารถใช้ Card
ต่อพ่วงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับมันได้เลย
ปัญหาที่ทาง Compaq จะต้องแก้ให้ได้
และ ก็แก้ได้ดีทีเดียว นั่นก็คือ
ในระบบบัส
มันทำงานด้วยความเร็วเดียวกับ CPU
ไม่ได้ ก็แยกการใช้นาฬิกา
ของระบบบัส ออกจาก CPU ไปเลย โดยที่
CPU และ อุปกรณ์อื่นๆ บน Mainboard
จะทำงานที่ความเร็ว 12 MHz แต่ ที่ตัว
Bus เอง จะทำงานคงที่ ที่ 8 MHz
เพราะใช้สัญญาณนาฬิกา แยกจากกัน
ซึ่งวิธีการนี้ ก็เป็นทางแก้
ซึ่งก็ยังใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบันนี้
ในสมัยนั้น
หน่วยความจำหลัก หรือ RAM จะอยู่บน
Expansion Card ที่ต่ออยู่กับ ISA Bus ด้วย
เพราะฉะนั้น มันก็เลย
ทำงานด้วยความเร็วเพียง 8 MHz
เท่านั้น และ ต่อๆ มา ยิ่งมี CPU ขนาด
16 MHz หรือ 25 MHz ในยุคของ 386 ด้วยแล้ว RAM
ก็จะทำงานด้วยความเร็วเพียงแค่ 8
MHz เท่านั้น ทาง Compaq
ก็เลยต้องแก้ไขอีกครั้ง
ซึ่งในต้นปี 1987 ทาง Compaq ก็ได้
วางตลาด Compaq Deskpro 386 ที่ความเร็ว 16 MHz
โดยคราวนี้
ก็แยกสัญญาณนาฬิกาของ RAM
ออกไปด้วยซะเลย
ซึ่งก็เป็นต้นแบบสำคัญที่ใช้กันต่อมาในปัจจุบันนี้
โดยให้ ISA Bus ทำงาน
ที่ความเร็วค่าหนึ่ง RAM
อีกค่าหนึ่ง และ CPU อีกค่าหนึ่ง
เมื่อ Intel ได้เปิดตัว CPU
ของตน รุ่น 80386 ซึ่งเป็น CPU ขนาด 32 Bit
สามารถอ้างตำแหน่งหน่วยความจำได้มากถึง
4 Gigabyte โดยมีความเร็วเริ่มต้นที่ 16 MHz
ซึ่ง ISA Bus ดูจะไม่เหมาะแล้ว กับ CPU
ระดับนี้ บรรดาผู้ใช้ PC
ต่างก็มองกันว่า ทางออกที่ดี
คือควรจะมีระบบบัสใหม่ที่สามารถรองรับในจุดนี้ได้
แต่อย่างที่บอกไปแล้วนั้นว่า
วิศวกรของทาง IBM
มองในจุดที่แตกต่างจากคนอื่นๆ
ทั่วไป เพราะ แต่เดิมนั้น IBM
จับตลาด Mainframe มาก่อน และ แน่นอน
วิศวกรของทาง IBM ก็จะชินและ
ถนัดกับ Mainframe มากกว่า
ทำให้วิศวกรเหล่านั้นมองว่า PC
ก็ควรจะทำงาน แบบ หลายๆ task พร้อมๆ
กันได้ ( Multiple task ) ประกอบกับ IBM
ต้องการที่จะให้ภาพพจน์ Mainframe
ของตน ดูมีประสิทธิภาพสูงกว่า PC
จึงไม่ค่อยได้เพิ่ม
หรือเปลี่ยนแปลง
ขีดความสามารถให้กับระบบบัสใหม่ของตน
ให้เด่นกว่าเดิมมากนัก
จุดเด่นของ MCA
ดูๆแล้ว ก็น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมระบบบัส ที่น่าสนใจอยู่ใช่น้อยนะครับ แต่สาเหตุที่ทำให้ระบบบัส MCA นี้ ไปไม่ถึงดวงดาว ก็คือ
ต่อมาในภายหลัง ได้มีการเพิ่มขีดความสามารถ เข้าไปอีก คือเรื่องของ Streaming Data Mode ซึ่งทำให้ใช้เส้นทางข้อมูลได้ถึง 64 Bit และ สามารถเพิ่มอัตราการส่งผ่านข้อมูลได้ถึง 80 M/s และ ยังได้เพิ่มสัญญาณนาฬิกาไปเป็น 20 MHz ซึ่งจะสามารถทำให้อัตราส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 160 M/s ด้วย เพื่อแข่งขันกับ EISA ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
จากที่ได้กล่าวมาแล้ว
ถึงจุดจบอันไม่น่าบังควรของ IBM
ที่ทำการจดลิขสิทธิ์ และ
เรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์
จากรายได้ทั้งหมด 5 % (
จากรายได้ทั้งหมด
ไม่ใช่จากกำไรทั้งหมด )
แถมยังไม่ให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลของระบบนี้อีก
ทำให้มันถูกกองไว้กับ IBM
ไม่แพร่หลายทั่วไปอย่าง ISA
ทาง Compaq
ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าของ IBM
คงไม่ไปก้มหัวให้กับ IBM
เพื่อขอใช้ MCA เป็นแน่แท้ ทาง Compaq
จึงได้รวมทุนวิจัยระบบบัสใหม่
ร่วมกับอีก 8 บริษัท ในปี 1988
ซึ่งเรียกกันว่าเป็น "Gang of Nine"
แต่พวกเขากลับเรียกตัวเองว่า
"WATCHZONE" เพราะ
ประกอบไปด้วยบริษัท Wyse, AST Research, Tandy,
Compaq, Hewlett-Packard, Zenith Data Systems, Olivetti, NEC
และ Epson และได้พัฒนา Extended Industry Standard
Architecture หรือ EISA ขึ้นมาได้สำเร็จ
EISA นั้น
ใช้พื้นฐานหลักมาจาก ISA
แต่ได้เพิ่มขีดความสามารถบางอย่างขึ้น
ซึ่งบางอย่างก็พัฒนามาจาก MCA ด้วย
ซ้ำยังเข้ากันได้กับ ระบบ ISA
รุ่นเก่าด้วย และ
เสียค่าลิขสิทธิ์น้อยกว่าที่จะต้องจ่ายให้กับ
IBM อีกด้วย
เมื่อทาง IBM เห็นเช่นนี้ ก็ยอมไม่ได้ เพราะ จากอัตราส่งถ่ายข้อมูล ซึ่งสูงกว่า MCA ของตน ( 20 M/s ) จึงได้ทำการเพิ่ม Feature ให้กับ MCA ของตน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งทำให้ อัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพิ่มได้ถึง 160 M/s และ แน่นอน ทาง WATCHZONE ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ได้ทำการพัฒนา EISA ขึ้นเป็น EISA-2 ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายถึง 132 M/s เลยทีเดียว
เมื่อคราวที่ Compaq ได้เปิดตัว Deskpro 386
นั้น ที่เคยกล่าวไปแล้วว่า
ได้แยกสัญญาณนาฬิกาของหน่วยความจำหลัก
, Bus และ CPU ออกจากกัน ซึ่ง Compaq ก็ได้
เปิดตัว ระบบ Bus ใหม่ของตนไปด้วย
เพราะ
หน่วยความจำหลักของเครื่องนี้
จะอยู่บน Slot ขนาด 32 Bit
ซึ่งออกแบบมาเฉพาะของ Compaq
เท่านั้น ซึ่ง ก็เป็นจุดเริ่มต้น
ให้ผู้ผลิตแต่ละบริษัท
เริ่มที่จะหันไปออกแบบและผลิตระบบบัส
ที่เป็นมาตรฐาน ของตนเองขึ้นมา
แน่นอน Intel ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ระบบบัสเหล่านี้
แต่เดิมเรียกว่า เป็น Private Bus
เพราะใช้เป็นการส่วนตัวเฉพาะบริษัทเท่านั้น
แต่ต่อมาก็เรียกว่าเป็น Local Bus หรือ
Bus เฉพาะที่ เพราะใช้
สัญญาณนาฬิกาเดียวกับ CPU
โดยไม่ต้องพึ่งวงจรสัญญาณนาฬิกาพิเศษแยกออกจาก
CPU เลย
ข้อดีของมันก็คือ
ทำให้สามารถใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันกับ
CPU ในขณะนั้นได้
ซึ่งก็มักจะนำมาใช้กับ
หน่วยความจำหลัก
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
โดยรวมของระบบ แต่ก็มี Card
แสดงผลอีกชนิดหนึ่งที่ต้องการความไวสูง
เช่น Display Card ซึ่ง
หากมีการเข้าถึงและส่งถ่ายข้อมูลระหว่าง
CPU กับ Display Card ได้เร็วแล้ว
ก็จะช่วยลดปัญหาเรื่อง Refresh Rate ต่ำ
เพราะ CPU
จะต้องทำการประมวลผลและนำมาแสดงผลบนจอภาพ
ยิ่งหากว่ามีการใช้ mode resolution ของ
จอภาพสูงๆ และ เป็น mode graphics ด้วยแล้ว
CPU
ก็ยิ่งต้องการการส่งถ่ายข้อมูลให้เร็วขึ้น
เพื่อภาพที่ได้จะได้ไม่กระตุกและไม่กระพริบ
( Refresh Rate ต่ำ เป็นเหตุให้จอกระพริบ )
เนื่องจากระบบ Local Bus นั้น
จะช่วยในการส่งผ่าน และ
เข้าถึงข้อมูลได้เร็ว
จึงได้มีบริษัทหัวใส นำเอาระบบ
Local Bus มาใช้กับ Display Card ด้วย
โดยบริษัทแรก
ที่นำมาใช้และเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
คือ NEC ซึ่งใช้กับ NEC Powermate ( ในปี 1991 ) และ
ต่อๆมา ผู้ผลิตรายอื่นๆ
ก็ได้พยายามเลียนแบบ
แต่ก็ได้ออกแบบระบบ Local Bus ของตน
ซึ่ง Card ของแต่ละบริษัท ก็นำไปใช้
กับ บริษัทอื่นไม่ได้
ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานระบบ Bus
นี้ขึ้นมา โดยกลุ่มนั้นชื่อ Video
Electronic Standards Association หรือ VESA และ ได้เรียก
มาตรฐานนั้นว่าเป็น VESA Local Bus หรือ
สั้นๆว่า VL Bus ในปี 1992
ระบบ VL Bus นั้น
สามารถใช้สัญญาณนาฬิกา
ได้สูงถึง 50 MHz
ทั้งยังสนับสนุนเส้นทางข้อมูลทั้ง
32 Bit และ 64 Bit
รวมถึงอ้างตำแหน่งหน่วยความจำ
ได้สูงถึง 4 Gigabyte อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม VL Bus
ก็ไม่เชิงว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ดีนัก
เพราะไม่มีเอกลักษณ์ หรือ
คุณสมบัติพิเศษนอกเหนือไปจาก ISA
มากนัก เพราะมันเหมือนๆ กับ
การเพิ่มขีดความสามารถให้กับ ISA
มากกว่าที่จะเป็นพัฒนาความสามารถให้กับ
ISA เนื่องจากมันก็ยังคงให้ CPU
เป็นตัวควบคุมการทำงาน ใช้ Bus Mastering
ไม่ได้ และ
ยังไม่สามารถปรับแต่งค่าต่างๆ
ผ่านทาง Software ได้
จากจุดอ่อนตรงจุดนี้ ทำให้ทาง Intel
ได้พัฒนาระบบ Local Bus
ของตนขึ้นมานั่นเอง
ระบบ
PCI หรือ Peripheral Component Interconnect ก็เป็น Local Bus
อีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย Intel
ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992
โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส
กับ CPU ออกจากกัน
และส่งข้อมูลผ่านกันทางวงจรเชื่อม
( Bridge Circuit ) ซึ่ง จะมี Chipset
ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบบัสต่างหาก
โดยที่ Chipset
ที่ควบคุมนี้จะเป็นลักษณะ Processor
Independent คือ ไม่ขึ้นกับตัว Processor ( หรือ CPU
)
แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น PCI
จะเป็นระบบบัสแบบ 32 Bit
ที่ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz
ซึ่งสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูลถึง
133 M/s ต่อมา เมื่อ Intel เปิดตัว CPU ใน Generation
ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็น CPU ขนาด 64 Bit
ทาง Intel ก็ได้ทำการกำหนดมาตรฐาน
ของ PCI เสียใหม่ เป็น PCI 2.0
ในเดือนพฤษภาคม ปี 1993 ซึ่ง PCI 2.0
นี้ก็จะมีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง
64 Bit ซึ่งหากใช้งานกับ Card 64 Bit แล้ว
ก็จะสามารถให้อัตราเร็ว
ในการส่งผ่านที่สูงสุดถึง 266 M/s
จุดเด่นของ PCI
ที่เห็นได้ชัด
นอกเหนือไปจากข้างต้น
ก็ยังมีเรื่องของ Bus Mastering ซึ่ง PCI
นั้น ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับ
EISA และ MCA แล้ว Chipset
ที่ใช้เป็นตัวควบคุมการทำงาน
ก็ยังสนับสนุนระบบ ISA และ EISA
อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทำให้ผลิต
Mainboard ที่มีทั้ง Slot ISA , EISA และ PCI
รวมกันได้ นอกจากนั้น
ยังสนับสนุนระบบ Plug-and-Play อีกด้วย (
เป็นมาตรฐานที่พัฒนาในปี 1992
ที่กำหนดให้ Card แบบ Plug-and-Play นี้
จะไม่มี Dipswitch หรือ Jumper เลย ทุกอย่าง
ทั้ง IRQ, DMA หรือ Port
จะถูกกำหนดไว้แล้ว
แต่เราก็สามารถเลือก หรือ
เปลี่ยนแปลงได้จาก Software )
AGP
ในกลางปี 1996 เมื่อ Intel
ได้ทำการเปิดตัว Intel Pentium II
ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ
Accelerated Graphics Port หรือ AGP
ซึ่งก็ได้เปิดตัว Chipset
ที่สนับสนุนการทำงานนี้ด้วย คือ
440LX ( ซึ่งแน่นอน Chipset
ที่ออกมาหลังจากนี้
ก็จะสนับสนุนการทำงานของ AGP ด้วย )
AGP นั้น
จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset
ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่ง
จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง
Card AGP กับ Chipset ของระบบได้เร็วขึ้น
และยังมีเส้นทางเฉพาะ
สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ
เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบ 3D
ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
จากเดิม Card แสดงผล แบบ PCI
นั้น
จะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำบน
Card
เพราะเมื่อต้องการใช้งานด้านการ
Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ
ก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน
Card นั้นมากๆ
เพื่อรองรับขนาดของพื้นผิว ( Texture )
ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน
Render แน่นอน เมื่อหน่วย ความจำมากๆ
ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้น ทาง Intel
จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน
Graphics นี้ โดยเฉพาะ AGP
จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา
AGP นั้นจะมี mode ในการ Render
อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing
โดยที่ Local Texturing นั้น จะทำการ copy
หน่วยความจำ
ของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ
Card ( หน่วยความจำบนตัว Card )
จากนั้นจึงทำการประมวลผลโดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์บน
Card นั้นอีกที ซึ่งวิธีการนี้
ก็เป็นวิธีการที่ใช้บนระบบ PCI
ด้วย
วิธีนี้จะพึ่งขนาดของหน่วยความจำบน
Card มาก AGP Texturing นั้น เป็นเทคนิคใหม่
ที่ช่วยลดปริมาณ ของหน่วยความจำ
หรือ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card
ลงได้มาก
เพราะสามารถทำการใช้งาน
หน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลย
โดยไม่ต้องดึงข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ
Card ก่อน
โดยปกติแล้ว AGP
จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz
ซึ่งแม้ว่าระบบจะใช้ FSB เป็น 100 MHz
แต่มันก็จะยังคงทำงานที่ 66 MHz (
ซึ่งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่น
บางยี่ห้อ
สามารถปรับแต่งค่านี้ได้ แต่
ทั้งนี้ และ ทั้งนั้น
ก็ควรคำนึงถึงขีดจำกัดของ Card และ
อุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ) ซึ่ง ใน mode
ปกติของมัน
ก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือน
กับ PCI แบบ 66 MHz เลย
โดยจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงถึง
266 M/s และ นอกจากนี้
ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้น
และขอบขาลงของ 66 Mhz
จึงเท่ากับว่ามันทำงานที่ 133 MHz
ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลขึ้นได้สูงถึง
532 M/s ( แน่นอนว่าทั้ง Card ที่ใช้ และ
Chipset ที่ใช้
ต้องสนับสนุนการทำงานแบบนี้ด้วย
) ซึ่งเรียก mode นี้ ว่า mode 2X และ mode
ปกติว่าเป็น mode 1X
สำหรับความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลนั้น
ก็ขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำหลักด้วย
ถ้าหน่วยความจำหลัก เป็น
ชนิดที่เร็ว
ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มอัตราเร็วในการส่งถ่ายมากขึ้น
ดังนี้
อีกสาเหตุหนึ่งที่ระบบบัสแบบ AGP
ทำได้ดีกว่า PCI ก็เพราะ เป็น Slot แบบ
เอกเทศ ไม่ต้องไปใช้ Bandwidth
ร่วมกับใคร ( เพราะเครื่องๆ
หนึ่งมี Display Card เพียง
ตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น
จึงใน Mainboard จึงมี Slot AGP เพียง Slot เดียว )
อีกไม่นาน
chipset ตัวใหม่ของทาง Intel
ก็จะออกมาแล้ว
ซึ่งจะรองรับการทำงานของ AGP 4X
ซึ่งก็จะช่วยให้เพิ่มอัตราการส่งผ่านข้อมูล
ได้สูงขึ้นอีกเท่าตัวจาก 2 X
เลยทีเดียว
ชนิด | ปีที่เปิดตัว | ความกว้างของ Bus | ความเร็วนาฬิกา |
PC Bus | 1981 | 8 Bit | 4.77 MHz |
ISA | 1984 | 16 Bit | 8 MHz |
MCA | 1987 | 32 Bit | 10 MHz |
EISA | 1988 | 32 Bit | 8.33 MHz |
VL Bus | 1992 | 32/64 Bit | 50 MHz |
PCI | 1992 | 32/64 Bit | 33 MHz |
AGP | 1996 | 32 Bit ( or Greater Than ) | 66 MHz |